
ภาพวาดเป็นภาษาสากล เวลาวาดภาพในสถานการณ์ใดออกมา เช่น คนกำลังกลัวหรือมีความสุข ภาพนั้นจะมีความหมายเดียวกันในทุกวัฒนธรรม เราไม่อาจวาดภาพคนร้องไห้และสื่อให้คนในอีกวัฒนธรรมหนึ่งเข้าใจว่าเขากำลังมีความสุข เขาก็จะแสดงออกในลักษณะเดียวกัน นี่คือความตรงไปตรงมาของภาพวาด"-มาร์จอเน่ ซาทราพิ
ในปี 1984 มาร์จอเน่หลีกหนีจากความกดดันของการปกครองภายหลังการปฏิวัติอิสลามและสงครามอิรักเพื่อไปเรียนต่อในเวียนนา ที่นั่น เธอได้เจอกับบททดสอบของชีวิตวัยรุ่นที่ต้องเติบโตห่างจากเพื่อนและครอบครัว หลังจากการต่อสู้กับการแสวงหาความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมต่างถิ่น เธอเดินทางกลับอิหร่านด้วยใจท้อแท้ และต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตัวเองและประเทศของตน จนนำไปสู่การตัดสินใจครั้งใหญ่ในชีวิต...อีกครั้ง
จากใจกำมะหยี่ :
กรุณาเรียงตามลำดับ!
ท่านผู้อ่านโปรดทราบ
แพร์ซโพลิส ๒ เล่มนี้เป็นตอนต่อจาก แพร์ซโพลิส ๑
หนังสือชุดนี้เป็นเรื่องราวชีวิตของเด็กหญิงชาวอิหร่านผู้หนึ่งตั้งแต่เด็กน้อยจนเติบใหญ่
เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นหล่อหลอมเป็นตัวตนของเธอนั้น ไล่เรียงลำดับอายุตามลำดับเล่ม
หากต้องการเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นกับ “นางสาวมาร์จอเน่” ในเล่มนี้อย่างถ่องแท้
ได้โปรดทำความรู้จักกับ “เด็กหญิงมาร์จี้” ในเล่มหนึ่งเสียก่อน
เขาว่ากันว่า :
"เรื่องล่าสุดและหนึ่งในตัวอย่างที่หฤหรรษ์ของงานเขียนยุคโพสต์โมเดิร์นที่กำลังได้รับความนิยม นั่นคืออัตถชีวประวัติในรูปของการ์ตูน...ลายเส้นของซาทราพินั้นคมกล้าและชัดเจน"--เดอะนิวยอร์กไทมส์บุ๊กรีวิว
"ทั้งการบรรยายและลายเส้นก่อเกิดเป็นภาพที่ทรงพลัง สนุกและสะเทือนใจไปกับชีวิตภายใต้การปกครองของเผด็จการ ... ตอนจบทรงพลัง ละมุนละไม ชวนให้น้ำตาซึม" --ชิลเดรน ลิตเทอเรเจอร์
>>> ดาวน์โหลดตัวอย่างไปลองอ่านดู


มาร์จอเน่ ซาทราพิเกิดเมื่อปี 1969 ในเมืองราชท์ ประเทศอิหร่าน เติบโตที่กรุงเตหะราน ก่อนจะเดินทางไปกรุงเวียนนา โดยต่อมาจบการศึกษาด้านศิลปะที่เมืองสตราสบูร์ก ประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบัน มาร์จอเนใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงปารีส ออกผลงานภาพประกอบอย่างสม่ำเสมอ ทั้งยังเขียนวรรณกรรมเด็กหลายเล่ม ผลงานภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง Persepolis ที่เธอสร้างร่วมกับแวงซองต์ ปารงโนด์ ได้รับรางวัลจูรีไพรส์ จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ และอีกหลายรางวัลทั่วโลก
2 comments:
ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูลดีๆ
เป็นความรู้ที่น่าสนใจมากครับ ขอบคุณครับ
Post a Comment