ตอนแรกเรามองเรื่องนี้ขำๆ นะคะ แต่คิดไปคิดมา การบิดเบือนชักจูงให้เข้าใจผิดเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง จึงต้องขอคัดค้านอย่างสงบ ด้วยการแปลข่าวนี้มาฝากให้พิจารณากันเองว่ามีการ "เตือนจีน" ตรงไหน
ที่มา : http://blogs.wsj.com/japanrealtime/2012/09/28/novelist-murakami-weighs-in-on-japan-territorial-rows/
ฮารูกิ มูราคามิ แสดงความเห็นเกี่ยวกับความขัดแย้งเรื่องดินแดนของญี่ปุ่น
ฮารุกิ มูราคามิ เขียนบทความแสดงความเป็นห่วงเรื่องผลกระทบทางวัฒนธรรมที่ดูเหมือนจะเป็นผลจากความขัดแย้งเรื่องดินแดนที่เพิ่มขึ้นมากมายหลายกรณี เขาบรรยายความรู้สึกของตนถึงปัญหานี้อย่างไม่ยั้งว่า เป็นเหมือนการมึนเมาจากเหล้าสาเกราคาถูก ความคิดเห็นของเขาได้รับการตีพิมพ์โดดเด่นขึ้นหน้าแรกของหนังสือพิมพ์อาซาฮีชิมบุน หนังสือพิมพ์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันศุกร์ (28 ก.ย. 55) “ในฐานะนักเขียนเอเชียและนักเขียนญี่ปุ่น ผมกลัวว่าความสำเร็จที่มั่นคงที่เราได้ทำ (ในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และการส่งเสริมความเข้าใจอันดีกับประเทศเอเชียเพื่อนบ้าน) จะถูกบั่นทอนจากปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเกาะเซนกากุและหมู่เกาะทาเกชิมาในครั้งนี้”
เกาะเซนกากุและเกาะทาเกชิมา อยู่ใจกลางความตึงเครียดระดับทวิภาคีที่คุกรุ่นมาตลอด โดยเกาะแรกมีปัญหากับจีน ส่วนหมู่เกาะที่สองมีปัญหากับเกาหลีใต้ เกาะที่อยู่ใต้อาณัติของญี่ปุ่นในทะเลจีนใต้ทั้งสองเกาะนี้ เกาะแรกเป็นที่รู้จักในนามเกาะเซนกากุในญี่ปุ่น แต่ทั้งจีนและไต้หวันก็ประกาศความเป็นเจ้าของด้วยเช่นกัน โดยทั้งสองประเทศเรียกเกาะนี้ว่าเกาะเตียวหยู ความสัมพันธ์ของญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ถูกทดสอบในช่วงเดือนหลังๆ จากกรณีหมู่เกาะที่ชื่อว่าทาเกชิมาในภาษาญี่ปุ่น ดกโดในภาษาเกาหลี และเลียนคอร์ท สำหรับประเทศอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในวงทะเลาะวิวาท
เกาะเซนกากุและเกาะทาเกชิมา อยู่ใจกลางความตึงเครียดระดับทวิภาคีที่คุกรุ่นมาตลอด โดยเกาะแรกมีปัญหากับจีน ส่วนหมู่เกาะที่สองมีปัญหากับเกาหลีใต้ เกาะที่อยู่ใต้อาณัติของญี่ปุ่นในทะเลจีนใต้ทั้งสองเกาะนี้ เกาะแรกเป็นที่รู้จักในนามเกาะเซนกากุในญี่ปุ่น แต่ทั้งจีนและไต้หวันก็ประกาศความเป็นเจ้าของด้วยเช่นกัน โดยทั้งสองประเทศเรียกเกาะนี้ว่าเกาะเตียวหยู ความสัมพันธ์ของญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ถูกทดสอบในช่วงเดือนหลังๆ จากกรณีหมู่เกาะที่ชื่อว่าทาเกชิมาในภาษาญี่ปุ่น ดกโดในภาษาเกาหลี และเลียนคอร์ท สำหรับประเทศอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในวงทะเลาะวิวาท
การเก็บหนังสือญี่ปุ่นในร้านหนังสือทั่วประเทศจีนสร้างความ “ตื่นตกใจ” ให้กับนักเขียนวัย 63 ปีผู้นี้ เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าความขัดแย้งเรื่องดินแดนเหล่านี้ได้ลุกลามใหญ่โต และอาจตัดสายสัมพันธ์ในระดับภูมิภาคที่ต้องต้องใช้เวลาหลายสิบปีในการสร้างขึ้นมา มูราคามิกล่าวว่าเขาไม่อยู่ในฐานะที่จะวิพากย์วิจารณ์เรื่องที่ประเทศจีนได้ระงับการขายหนังสือที่เขียนโดยนักเขียนญี่ปุ่น “เพราะมันเป็นปัญหาภายในของประเทศจีน” “แต่สิ่งที่ผมอยากกล่าว ณ ที่นี้ดังๆ ชัดเจน คือ “กรุณาอย่าแก้เผ็ดโต้ประเทศจีนที่ทำอย่างนี้ หากเราทำ มันจะกลายเป็นปัญหาของเรา และมันจะย้อนกลับมาทำร้ายคุณ”
มูราคามิ ผู้มีชื่อเสียงจากหนังสือที่โดดเด่นระดับคลาสสิกอย่างเช่น “Kafka on the Shore” และหนังสือไตรภาคเล่มยักษ์ “1Q84” กล่าวต่อว่า พอเป็นเรื่องเกี่ยวกับความขัดแย้งเรื่องดินแดนระหว่างประเทศ ปัญหาต่างๆ ก็เป็นผลกระทบที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ความเลือดร้อนได้เข้ามาแทนที่ความเป็นไปได้ของทางออกที่ได้ผล

ขณะที่กระแสการต่อต้านนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นหัวข้อทางการเมืองที่มีการโต้แย้งกันอยู่อีกเรื่องหนึ่ง มีการสนับสนุนจากเสียงผู้ทรงอำนาจระดับนักเขียนรางวัลโนเบล เคนซาบุโร โอเอะ ความขัดแย้งเรื่องดินแดนยังคงเป็นเรื่องที่ยังไม่มีการแตะต้องในวงกว้าง เหตุจากการเชื่อมโยงกับความภาคภูมิใจในชาติ ไม่มีใครลุกขึ้นมากล่าวถึงปัญหาที่เต็มไปด้วยขวากหนามนี้ บทความของมูราคามิและการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวันระดับประเทศแบบเห็นเด่นชัดกินพื้นที่หน้าหนึ่งและมีต่อด้านในฉบับ เป็นก้าวที่สำคัญในการเคลื่อนย้ายการโต้เถียงจากคำสั่งสอนจากกลุ่มชาตินิยมฝ่ายขวาสู่ผู้อ่านในวงกว้างขึ้น ในบทความของเขา มูราคามิได้กล่าวถึงนิยายเรื่อง “The Wind-Up Bird Chronicle.” (บันทึกนกไขลาน) ที่มีเนื้อเรื่องที่เจาะเน้นเรื่องสงครามนองเลือดระหว่างทหารญี่ปุ่นกับกองทัพมองโกเลียและรัสเซียเพื่อแย่งชิงพื้นที่แห้งแล้งในทะเลทรายของมองโกเลีย เขากล่าวว่าเขาได้เดินทางไปดูพื้นที่ที่เคยเป็นสนามรบหลังจากเขียนนิยายเรื่องนี้จบ “ตอนที่ผมยืนอยู่กลางพื้นที่ว่างเปล่าแห้งแล้งที่ยังมีเศษซากระเบิดและอุปกรณ์การทำสงครามกระจายไปทั่ว ผมรู้สึกอย่างหดหู่ว่าทำไมหลายต่อหลายชีวิตต้องมาสูญสิ้นเพื่อผืนดินที่ว่างเปล่าผืนนี้ด้วย”

ความเห็นเรื่องความขัดแย้งในเกาะดังกล่าวออกมาไม่กี่สัปดาห์ก่อนจะมีการประกาศรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม รางวัลเกียรติยศที่มูราคามิมักจะได้รับการเอ่ยชื่อในฐานะผู้น่าจะได้รับรางวัล ในปีนี้ก็เช่นกัน นักเขียนชาวญี่ปุ่นผู้นี้ได้เข้าเป็นนักเขียนอันดับต้นๆ ที่น่าได้รับรางวัลนี้ เขาได้รับการวางเดิมพันในอัตรา 5 ต่อ 1 ในการจัดอันดับของลอร์ดโบรก บริษัทรับพนันที่สหภาพอังกฤษ
-----
อ่านบทความต้นทางที่เฮียเขียนยาวเหยียดในหนังสือพิมพ์อาซาฮีชิมบุน แปลเป็นภาษาไทยอยู่ในลิงก์นี้ http://gammemagie.blogspot.hk/2012/10/blog-post_6.html
-----
อ่านบทความต้นทางที่เฮียเขียนยาวเหยียดในหนังสือพิมพ์อาซาฮีชิมบุน แปลเป็นภาษาไทยอยู่ในลิงก์นี้ http://gammemagie.blogspot.hk/2012/10/blog-post_6.html
No comments:
Post a Comment