May 16, 2012

วิถีฮารูกิ มูราคามิ : บุรุษที่สาม โลกดิจิตอล โลกอะนาล็อก



ส่วนหนึ่งของสกู๊ปพิเศษ “บทสัมภาษณ์ มุราคามิ ฮารุกิ ขนาดยาว”
คังกาเอรุ ฮิโตะ (thinker)(นิตยสารราย 3 เดือน)  ฉบับฤดูร้อน  ปี 2010 (วางขายเดือนสิงหาคม)
ผู้สัมภาษณ์ มาซาชิ มัตสึอิเอะ  หัวหน้ากองบรรณาธิการ คังกาเอรุ ฮิโตะ  ใช้เวลาสัมภาษณ์ถึง 3 วัน !!!

ขอขอบคุณมุทิตา พานิช ผู้มีน้ำใจแปลมาฝากแฟนๆ ชาวไทยของเฮียมูมา ณ ที่นี้ค่ะ


‘After Dark’ กับ  ‘1Q84’

--- กลับไปที่เรื่องตอนเริ่มคุยกันวันนี้ ‘The Wind-up Bird Chronicle’ ยังเป็นเรื่องที่สร้างโลกของบุรุษที่หนึ่งกับบุรุษที่สามผสมกันไป 

มุราคามิ  ใน ‘After the Quake’(2000) เป็นครั้งแรกที่กลายเป็นโลกของบุคคลที่สามเต็มตัว ได้เขียนเรื่องนี้แล้วทำให้มั่นใจว่าถ้าเป็นเรื่องสั้นๆ ก็เขียนด้วยสรรพนามบุคคลที่สามได้ ประเด็นต่อไปคือการเอาไปใช้ในเรื่องยาว

‘After Dark’(ราตรีมหัศจรรย์) ที่เขียนหลัง ‘After the Quake’ ก็ใช้บุรุษที่สาม  จะว่าไปแล้ว ‘1Q84’ เป็นการทำ digital process กับปี 1984 ที่ยังเป็นยุคอะนาล็อก  ส่วน ‘After Dark’ ตอนนั้นอยากจัดการแบบดิจิตอลกับสังคมดิจิตอลที่เรียกว่ายุคปัจจุบัน เลยเขียนด้วยวิธีที่แตกต่างจากที่ผ่านมามากพอสมควร มีความรู้สึกเหมือนการถ่ายภาพหยาบๆ ด้วยกล้องดิจิตอลพกพาไปพร้อมๆกัน โดยตอนแรกเขียนแต่บทสนทนาก่อนแล้วค่อยมาเติมประโยคบรรยายทีหลังให้เป็นนิยาย ทำอย่างนั้นแล้วก็ได้จังหวะและชุดคำที่แตกต่างไปสิ้นเชิง สนุกและน่าสนใจมาก

การเขียนด้วยวิธีนี้ให้รสชาติเฉียบคมน่าสนใจสำหรับงานความยาวขนาดกลาง แต่จะออกแบบเป็นเรื่องยาวขนาดใหญ่ได้ถึงแค่ไหน คิดว่ายาก เพียงแค่นี้ไม่พอสำหรับเรื่องยาว ที่ไม่พอเพราะไม่มีความรู้สึกถึงการหักมุมใหญ่ๆ ในเรื่องราว    

‘After Dark’ เป็นนิยายแปลก บางตอนไม่มีเหตุผล แต่กระแสการไหลสอดคล้องไปได้อย่างประหลาด มีกล้องที่อยู่ด้านบนกวาดตามองโลกตลอดเวลา ความมุ่งมั่นนั้นได้เข้ามาครอบงำโลกในเชิงนามธรรม ว่าไปแล้วนี่ก็คือวิถีของโลกอินเตอร์เน็ต ความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลเป็นมาตรวัดลำดับความสำคัญยิ่งกว่าความดีเลวของเรื่องต่างๆ  มุมมองและความรู้สึกนี้น่าสนใจมาก คิดว่าอยากเติมการหักมุมที่ต่างออกไปอีกเข้าไปตรงนี้

ตอนที่เขียน ‘1Q84’ รู้สึกอยู่เรื่อยๆ ว่าไม่สะดวก ยุคของปี 1984 ในชีวิตประจำวันยังไม่มีทั้งคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ  มักจะมีความคิดว่า ตรงนี้ถ้ามีอินเตอร์เน็ต ตรงนี้ถ้ามีมือถือ จะเดินเรื่องได้ง่าย  แต่ก็ไม่มี (หัวเราะ) จะโทรศัพท์ก็ต้องเดินไปใช้โทรศัพท์สาธารณะ จะค้นหาอะไรก็ต้องไปห้องสมุด แน่นอนว่าต้องยุ่งยาก เรื่องก็ยืดยาวออกไป ถ้าเป็นยุคนี้ล่ะก็เรื่องคงก้าวไปข้างหน้าได้เรื่อยๆ แต่ถ้าเป็นอย่างนั้นเรื่องราวก็ไม่มีความหมายอะไร เลยจำเป็นต้องใช้การจัดการแบบดิจิตอลกับข้อมูลอานาล็อก “การหักมุม” ที่ผมพูดหมายถึงเรื่องแบบนี้ด้วย


(ภาพจาก http://lectork.wordpress.com/2012/04/24/after-dark-haruki-murakami/) 

1 comment:

Anonymous said...

so thanks na ka